วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ชุดการสอน (Instructional Package) [2]


ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการผลิตชุดการสอน

............ทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีกลุ่มใหญ่ ๆ ที่สำคัญๆ อยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) และ กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) ในแต่ละกลุ่ม ก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ละทฤษฎี ก็มุ่งที่จะยึดหลักการและทฤษฎีของตน เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ การผลิตชุดการสอน ก็พยายามที่จะนำหลักการทฤษฎีทั้ง 3 กลุ่มนี้ มาใช้ในการสร้าง หรือออกแบบเรียนในชุดการสอน เพื่อให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ โดยอาจจะเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังจะให้เห็นแนวคิด ทฤษฎี ของกลุ่มต่างๆ ดังนี้

...........1. กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive)
............""แนวคิดกลุ่ม (Cognitive) เห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์นั้น มองเพียงพฤติกรรม ที่แสดงออก อย่างเดียว ไม่เพียงพอ ควรจะคำนึงถึงกระบวนการทางสมอง หรือกระบวนการทางความคิดเห็น ซึ่งเป็นสาเหตุ ของพฤติกรรมโดยตรง ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้ จะมองเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ว่าเป็นเรื่องของการเกิด Insight หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิม และการเรียนรู้ซึ่งจะนำไปสู่ Insight นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Bruner, Lewin,. Kohler, Ausubel ฯลฯ

............การนำแนวคิดของกลุ่ม Cognitive มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
............(1) สร้างบรรยากาศที่มีลักษณะเป็นกันเอง นักเรียนควรรู้สึกมีอิสระที่จะแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องกลัว การหัวเราะ เยาะเย้ย สร้างบรรยากาศที่จะช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆได้ด้วยตนเอง ให้ถือเสียว่า การกระทำ ผิดพลาด เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
............(2) การอภิปรายโดยมีโครงสร้างเสนอข้อความหรือคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิด Insight การจัดสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญ ของการเรียนการสอน แบบ Discovery ที่จะก่อให้เกิด Insight
............(3) การอภิปรายถ้าออกนอกทางที่ครูกำหนดไว้ ให้พยายามดึงกลับเข้าเดิมไม่ให้เสียบรรยากาศ
............(4) การจัดบทเรียนโดยมีโครงสร้าง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียน เข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งต่างๆ การที่จะต้องจัดบทเรียนให้มีโครงสร้าง ก็เพื่อจะช่วยให้นักเรียน ประสบความสำเร็จในการเรียน

............การนำหลักการ Cognitive มาใช้ในชุดการสอน เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการจัดบทเรียน โดยถือว่าโครงสร้าง เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญ ของสิ่งต่างๆลักษณะของชุดการสอน ก็เป็นการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งนำหลักการที่ว่า เมื่อมนุษย์ทำสิ่งใดแล้ว จะต้องการความสำเร็จ และต้องการ ทราบผลทันที ชุดการสอนจะจัดเนื้อหา ให้เป็นระบบ ซึ่งก็เข้าหลักการของ Cognitive ที่ว่าการจัดบทเรียน โดยมีโครงสร้าง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ ความสัมพันธ์ของเนื้อหาเรื่อง อย่างต่อเนื่อง ระหว่างความรู้ใหม่ กับความรู้เดิม ชุดการสอนเริ่มต้นด้วยการ pre – test และจบลงด้วยการ post – test ซึ่งคล้าย หลักการของ Ausubel ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบความรู้ เดิมของผู้เรียนก่อน และจะต้องมีการลงท้ายด้วย post – test นอกจากนั้น กิจกรรมของ Discovery มุ่งกิจกรรมในเรื่องศูนย์การเรียนซึ่งเป็นการวางแผนของแต่ละบุคคล ซึ่งศูนย์การเรียนนั้น มีชุดการสอน เป็นเครื่องสำคัญในการจัดกิจกรรมศูนย์

............2. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
...........""""กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism หรือ S-R Associations) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ ให้ความสนใจ ศึกษาพฤติกรรม อย่างชัด ซึ่งสามารถวัดได้สังเกตได้และทดสอบได้ แนวความคิดกลุ่มนี้ ถือว่าสิ่งแวดล้อม หรือประสบการณ์ จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้น ถ้าหากได้รับการเสริมแรง นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov, Watson, Skinner, Thorndike etc. ซึ่ง Skinner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้มี 2 ชนิด คือ
............((1) Classical Conditioning ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรม ซึ่งมีลักษณะ เป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) เป็นพื้นฐานก่อน ถ้าอยากให ้เกิดการเรียนรู้ ให้นำสิ่งเร้าที่ต้องการ วางเงื่อนไข (CS) มาจับคู่กับสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข (UCS) ในเวลา ที่ใกล้เคียงกัน ทำซ้ำๆ(ฝึกฝน) ในที่สุดสิ่งที่วางเงื่อนไข (CU) ก็จะเกิดการตอบสนองโดยถูกวางเงื่อนไข (CR)
...........(.(2) Operant Conditioning เป็นการเรียนรู้ที่ต้องเรียน ต้องลงมือกระทำเอง มิต้องรอให้สิ่งเร้าภายนอก มากระตุ้น แต่เกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวผู้เรียนเองเป็นตัวกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรม เช่น การกิน การเดิน การพูด ฯลฯ Skinner เห็นว่าพฤติกรรม ของคนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น Operant Learning และสิ่งสำคัญ ที่ทำให้คนแสดง พฤติกรรมซ้ำเดิม คือ Reinforcement
............นอกจากนั้น Skinner ยังได้แสดงความคิดเห็นว่า ข้อเสียของการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
............(1) ครูไม่สามารถเสริมแรงได้อย่างทันท่วงที ต้องใช้เวลามากกว่าจะตรวจงานแต่ละคนเสร็จ และเมื่อเด็ก สอบเสร็จแล้ว ก็ไม่สามารถให้ทราบผลได้ทันที
............(2) เนื้อหาต่างๆที่จะนำมาสอนขาดการจัดขั้นตอนอย่างงมีระบบระเบียบ บางครั้งยากเกินกว่าเด็กจะเข้าใจได้ การให้แบบฝึกหัด ไม่มีความสัมพันธ์กัน
............(3) การเสริมแรงไม่ทั่วถึงและไม่สม่ำเสมอ เพราะมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก ครูจึงให้การเสริมแรงแก่นักเรียนไม่ทั่วถึง

............การนำหลักการ Behaviorism มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
............ตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Behaviorism นั้น การสร้างชุดการสอนได้นำหลักการเสริมแรง Skinner มาใช้ นอกจากนั้น ชุดการสอนยังสามารถแก้ปัญหาของการจัดการศึกษา 3 ข้อ ข้างต้น Skinner เสนอไว้ได้ด้วย เพราะ
............(1) ชุดการสอนเป็นการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนจะลงกระทำด้วยตนเอง ตัดสินใจในการเรียนครั้งนั้นๆ ด้วยตนเอง
............(2) ชุดการสอนสามารถแก้ไขปัญหาของการเสริมแรงได้อย่างทั่วถึง เพราะเด็กที่เรียนจากขุดการสอน จะสามารถ ทราบผลการเรียน ได้อย่างทันท่วงที เท่ากับเป็นการเสริมแรง และยังสามารถแก้ปัญหา ในกรณีที่ นักเรียนมาก แต่ครูน้อย แบ่งเบา ภาระตรวจงานของครู ช่วยให้นักเรียนทราบผลการทำงาน ของตนเอง ในทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจงานจากครู ทำให้ครูสามารถ เสริมแรงเด็กได้อย่างทั่วถึง
............(3) ชุดการสอนมีการจัดเนื้อหาการเรียนเป็นระบบระเบียบ โดยการจัดเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่สอนเข้าเป็นส่วนๆเรียงลำดับ ความยากง่ายมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จที่ละขั้นก่อน จะได้เป็นกำลังใจให้เรียนในขั้นต่อไป

............3. กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
.....""".......แนวคิดของกลุ่ม Humanism มีความเชื่อว่ามนุษย์มีความดีติดตัวมาแต่เกิด (good – active) มนุษย์เป็นผู้มีอิสระ ที่จะนำตนเองและพึงตนเองได้ มีอิสระที่จะกระทำสิ่งต่างโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งรวมทั้งตนเอง ด้วยมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบ และเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม นอกจากนั้นยังเน้นถึง การรับรู้ตนเอง ในด้านบวก และเชื่อว่าบุคคลจะต้องต่อสู้ดิ้นรน เพื่อตอบสนอง ความต้องการของตัวเองให้สมบูรณ์อยู่เสมอ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Roger, Maslow, Combs etc.

............การนำแนวความคิดของกลุ่ม Humanism มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
............1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้
............2. สร้างบรรยากาศที่มีลักษณะอบอุ่นให้เป็นการยอมรับ และพยายามอย่างดีที่สุด ที่จะสื่อความรู้สึกของครู ที่เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนได้
............3. ครูพยามยามทำตัวเป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นผู้คอยให้กำลังใจ ตลอดจนเป็นผู้คอยช่วยเหลือ เท่าที่จะทำได้
............4. ครูแสดงอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจกับสถานการณ์ได้ แต่มิใช่แสดงอารมณ์กับตัวเด็ก
............5. ครูจะต้องรับรู้หรือมีความรู้สึกกับตนเองในด้านบวกก่อน เพราะคนที่จะเห็นว่าคนอื่นมีความสามารถนั้น จะต้องมองเห็นว่าตนเองเป็นเช่นนั้นก่อน
............6. พยายามทำอย่างดีที่สุด ที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกนึกคิดกับตัวเองในด้านบวก และครูควรหัด เป็นผู้ไวต่อความรู้สึกของเด็ก เช่น พยายามมองทุกสิ่งทุกอย่างให้เห็นดังที่เด็กเห็น สะท้อนให้เห็นว่า ครั้งที่ครูเป็นเด็ก ก็เคยมีความรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน เช่น ความรูสึกกลัว ความรู้สึกอาย ฯลฯ
............7. ถ้าเป็นไปได้จัดเวลาให้เด็กได้มีโอกาสทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเอง
............8. ฝึกให้เด็กทำความกระจ่างเกี่ยวกับค่านิยมของตนเอง โดยวิธีการดังต่อไปนี้
............- กระตุ้นให้เด็กเห็นค่ากับสิ่งที่เลือกให้
............- ช่วยให้เด็กสามารถหาตัวเลือกอื่นแทนได้ เมื่อพบกับสถานการณ์ที่ต้องเลือก
............- ช่วยให้เด็กให้น้ำหนักกับตัวเลือกนั้นได้ เช่น ครูให้ตัวเลือกมา 3 ชุด ให้เด็กจัดลำดับ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า ทำไมจึงจัดลำดับเช่นนั้น
............- กระตุ้นให้เลือกอย่างอิสระ
............- กระตุ้นให้เด็กได้แสดงออกหรือทำตามสิ่งที่ตนเลือก
............- ช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงพฤติกรรมตมที่ตนเองเลือกนั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก
............9. ในการจัดการเรียนการสอนให้คำนึงถึง Affective Domain ควบคู่กับ Cognitive Domain ซึ่งเป็นเป้าหมาย ที่สำคัญ ของกลุ่มมนุษยนิยม


ลักษณะและประเภทของชุดการสอน

............ลักษณะทั่วไปของชุดการสอน (Instruction Package) โดยแท้จริงแล้ว จะประกอบด้วยชุดบทเรียน 2 ลักษณะ คือ
............1. เป็นชุดการสอนสำหรับครู (Teaching Package) เป็นการรวบรวมสื่อการสอน อย่างมีระบบครบวงจร มีความสมบูรณ์ เพื่อให้ครูนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภายในชุดการสอน จะมีสื่อและข้อแนะนำ ในการใช้สื่อนั้นๆ กับวิธีการสอน อย่างละเอียดชัดเจน พร้อมที่จะให้ครูนำไปใช้ได้อย่างไม่ยุ่งยาก
............2. เป็นชุดการเรียน ( Learning Package) เป็นชุดสำหรับผู้เรียนโดยเฉพาะโดยมีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูป มีสื่อการสอน หลายประเภทเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเล็กๆหรือเป็นรายบุคคลก็ได้ นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้จัดแบ่ง ประเภทของชุดการสอนไว้ ดังนี้

............ชุดการสอนแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมในชุดการสอนแล้ว มี 3 ประเภท คือ
............1. ชุดการสอนแบบบรรยายหรือชุดการสอนสำหรับครู ชุดการสอนประเภทนี้ เป็นชุดสื่อประสม ที่ผลิตขึ้นมา สำหรับครู ใช้ประกอบการบรรยาย โดยจะกำหนดกิจกรรมการเรียน ที่ครูสามารถใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปลี่ยนบทบาทการพูดบรรยาย ของครูให้ลดน้อยลง และเปิดโอกาสให้นักเรียน มีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียน มากยิ่งขึ้น ภายในชุดการสอน จะจัดลำดับเนื้อหา และสื่อการสอน ที่ครูจะใช้บรรยายในชั้นเรียนขนาดใหญ่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มย่อยๆก็ได้ ครูผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญ ในการดำเนินการ ใช้ชุดการสอนประเภทนี้
............2. ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม หรือชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นชุดการสอน ที่จัดกรมการเรียน ที่มุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียน ให้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยจะจัดกิจกรรมการเรียนในรูปแบบของศูนย์การเรียน ชุดการสอนประเภทนี้ จะประกอบด้วยชุดกิจกรรมย่อย ที่มีจำนวนเท่ากับ ศูนย์กิจกรรม ที่แบ่งไว้ในแต่ละหน่วย การสอน ซึ่งในแต่ละศูนย์มีสื่อการเรียน หรือบทเรียนครบชุด ตามจำนวน ผู้เรียน ในศูนย์กิจกรรมนั้น สื่อที่ใช้ ในศูนย์จะเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือร่วมกันทั้งกลุ่มได้ การดำเนินกิจกรรม การเรียนผู้เรียน จะปฏิบัติตามคำสั่งชี้แจงในสื่อการสอน โดยที่ครูเป็นเพียง ผู้ควบคุมดูแลและประสานให้ ้การดำเนินกิจกรรม สมบูรณ์ที่สุดเท่านั้น
............3. ชุดการสอนแบบรายบุคคล เป็นชุดสื่อประสมที่จัดระบบไว้ เป็นขั้นตอน ให้ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง ตามลำดับขั้น ตามความสามารถของแต่ละบุคคล และสามารถประเมินผล ความก้าวหน้าของตนเองได้ ครูผู้สอน จะทำหน้าที่ี่เป็นที่ปรึกษา เมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา ชุดการสอนชนิดนี้จะช่วยส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ ของผู้เรียนแต่ละบุคคล ให้มีการพัฒนาไปได้ ด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

My Pix

My Pix
คลังรูปภาพ