วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ชุดการสอน (Instructional Package) [2]


ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการผลิตชุดการสอน

............ทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีกลุ่มใหญ่ ๆ ที่สำคัญๆ อยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) และ กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) ในแต่ละกลุ่ม ก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ละทฤษฎี ก็มุ่งที่จะยึดหลักการและทฤษฎีของตน เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ การผลิตชุดการสอน ก็พยายามที่จะนำหลักการทฤษฎีทั้ง 3 กลุ่มนี้ มาใช้ในการสร้าง หรือออกแบบเรียนในชุดการสอน เพื่อให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ โดยอาจจะเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังจะให้เห็นแนวคิด ทฤษฎี ของกลุ่มต่างๆ ดังนี้

...........1. กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive)
............""แนวคิดกลุ่ม (Cognitive) เห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์นั้น มองเพียงพฤติกรรม ที่แสดงออก อย่างเดียว ไม่เพียงพอ ควรจะคำนึงถึงกระบวนการทางสมอง หรือกระบวนการทางความคิดเห็น ซึ่งเป็นสาเหตุ ของพฤติกรรมโดยตรง ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้ จะมองเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ว่าเป็นเรื่องของการเกิด Insight หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิม และการเรียนรู้ซึ่งจะนำไปสู่ Insight นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Bruner, Lewin,. Kohler, Ausubel ฯลฯ

............การนำแนวคิดของกลุ่ม Cognitive มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
............(1) สร้างบรรยากาศที่มีลักษณะเป็นกันเอง นักเรียนควรรู้สึกมีอิสระที่จะแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องกลัว การหัวเราะ เยาะเย้ย สร้างบรรยากาศที่จะช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆได้ด้วยตนเอง ให้ถือเสียว่า การกระทำ ผิดพลาด เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
............(2) การอภิปรายโดยมีโครงสร้างเสนอข้อความหรือคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิด Insight การจัดสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญ ของการเรียนการสอน แบบ Discovery ที่จะก่อให้เกิด Insight
............(3) การอภิปรายถ้าออกนอกทางที่ครูกำหนดไว้ ให้พยายามดึงกลับเข้าเดิมไม่ให้เสียบรรยากาศ
............(4) การจัดบทเรียนโดยมีโครงสร้าง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียน เข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งต่างๆ การที่จะต้องจัดบทเรียนให้มีโครงสร้าง ก็เพื่อจะช่วยให้นักเรียน ประสบความสำเร็จในการเรียน

............การนำหลักการ Cognitive มาใช้ในชุดการสอน เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการจัดบทเรียน โดยถือว่าโครงสร้าง เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญ ของสิ่งต่างๆลักษณะของชุดการสอน ก็เป็นการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งนำหลักการที่ว่า เมื่อมนุษย์ทำสิ่งใดแล้ว จะต้องการความสำเร็จ และต้องการ ทราบผลทันที ชุดการสอนจะจัดเนื้อหา ให้เป็นระบบ ซึ่งก็เข้าหลักการของ Cognitive ที่ว่าการจัดบทเรียน โดยมีโครงสร้าง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ ความสัมพันธ์ของเนื้อหาเรื่อง อย่างต่อเนื่อง ระหว่างความรู้ใหม่ กับความรู้เดิม ชุดการสอนเริ่มต้นด้วยการ pre – test และจบลงด้วยการ post – test ซึ่งคล้าย หลักการของ Ausubel ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบความรู้ เดิมของผู้เรียนก่อน และจะต้องมีการลงท้ายด้วย post – test นอกจากนั้น กิจกรรมของ Discovery มุ่งกิจกรรมในเรื่องศูนย์การเรียนซึ่งเป็นการวางแผนของแต่ละบุคคล ซึ่งศูนย์การเรียนนั้น มีชุดการสอน เป็นเครื่องสำคัญในการจัดกิจกรรมศูนย์

............2. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
...........""""กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism หรือ S-R Associations) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ ให้ความสนใจ ศึกษาพฤติกรรม อย่างชัด ซึ่งสามารถวัดได้สังเกตได้และทดสอบได้ แนวความคิดกลุ่มนี้ ถือว่าสิ่งแวดล้อม หรือประสบการณ์ จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้น ถ้าหากได้รับการเสริมแรง นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov, Watson, Skinner, Thorndike etc. ซึ่ง Skinner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้มี 2 ชนิด คือ
............((1) Classical Conditioning ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรม ซึ่งมีลักษณะ เป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) เป็นพื้นฐานก่อน ถ้าอยากให ้เกิดการเรียนรู้ ให้นำสิ่งเร้าที่ต้องการ วางเงื่อนไข (CS) มาจับคู่กับสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข (UCS) ในเวลา ที่ใกล้เคียงกัน ทำซ้ำๆ(ฝึกฝน) ในที่สุดสิ่งที่วางเงื่อนไข (CU) ก็จะเกิดการตอบสนองโดยถูกวางเงื่อนไข (CR)
...........(.(2) Operant Conditioning เป็นการเรียนรู้ที่ต้องเรียน ต้องลงมือกระทำเอง มิต้องรอให้สิ่งเร้าภายนอก มากระตุ้น แต่เกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวผู้เรียนเองเป็นตัวกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรม เช่น การกิน การเดิน การพูด ฯลฯ Skinner เห็นว่าพฤติกรรม ของคนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น Operant Learning และสิ่งสำคัญ ที่ทำให้คนแสดง พฤติกรรมซ้ำเดิม คือ Reinforcement
............นอกจากนั้น Skinner ยังได้แสดงความคิดเห็นว่า ข้อเสียของการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
............(1) ครูไม่สามารถเสริมแรงได้อย่างทันท่วงที ต้องใช้เวลามากกว่าจะตรวจงานแต่ละคนเสร็จ และเมื่อเด็ก สอบเสร็จแล้ว ก็ไม่สามารถให้ทราบผลได้ทันที
............(2) เนื้อหาต่างๆที่จะนำมาสอนขาดการจัดขั้นตอนอย่างงมีระบบระเบียบ บางครั้งยากเกินกว่าเด็กจะเข้าใจได้ การให้แบบฝึกหัด ไม่มีความสัมพันธ์กัน
............(3) การเสริมแรงไม่ทั่วถึงและไม่สม่ำเสมอ เพราะมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก ครูจึงให้การเสริมแรงแก่นักเรียนไม่ทั่วถึง

............การนำหลักการ Behaviorism มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
............ตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Behaviorism นั้น การสร้างชุดการสอนได้นำหลักการเสริมแรง Skinner มาใช้ นอกจากนั้น ชุดการสอนยังสามารถแก้ปัญหาของการจัดการศึกษา 3 ข้อ ข้างต้น Skinner เสนอไว้ได้ด้วย เพราะ
............(1) ชุดการสอนเป็นการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนจะลงกระทำด้วยตนเอง ตัดสินใจในการเรียนครั้งนั้นๆ ด้วยตนเอง
............(2) ชุดการสอนสามารถแก้ไขปัญหาของการเสริมแรงได้อย่างทั่วถึง เพราะเด็กที่เรียนจากขุดการสอน จะสามารถ ทราบผลการเรียน ได้อย่างทันท่วงที เท่ากับเป็นการเสริมแรง และยังสามารถแก้ปัญหา ในกรณีที่ นักเรียนมาก แต่ครูน้อย แบ่งเบา ภาระตรวจงานของครู ช่วยให้นักเรียนทราบผลการทำงาน ของตนเอง ในทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจงานจากครู ทำให้ครูสามารถ เสริมแรงเด็กได้อย่างทั่วถึง
............(3) ชุดการสอนมีการจัดเนื้อหาการเรียนเป็นระบบระเบียบ โดยการจัดเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่สอนเข้าเป็นส่วนๆเรียงลำดับ ความยากง่ายมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จที่ละขั้นก่อน จะได้เป็นกำลังใจให้เรียนในขั้นต่อไป

............3. กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
.....""".......แนวคิดของกลุ่ม Humanism มีความเชื่อว่ามนุษย์มีความดีติดตัวมาแต่เกิด (good – active) มนุษย์เป็นผู้มีอิสระ ที่จะนำตนเองและพึงตนเองได้ มีอิสระที่จะกระทำสิ่งต่างโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งรวมทั้งตนเอง ด้วยมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบ และเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม นอกจากนั้นยังเน้นถึง การรับรู้ตนเอง ในด้านบวก และเชื่อว่าบุคคลจะต้องต่อสู้ดิ้นรน เพื่อตอบสนอง ความต้องการของตัวเองให้สมบูรณ์อยู่เสมอ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Roger, Maslow, Combs etc.

............การนำแนวความคิดของกลุ่ม Humanism มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
............1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้
............2. สร้างบรรยากาศที่มีลักษณะอบอุ่นให้เป็นการยอมรับ และพยายามอย่างดีที่สุด ที่จะสื่อความรู้สึกของครู ที่เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนได้
............3. ครูพยามยามทำตัวเป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นผู้คอยให้กำลังใจ ตลอดจนเป็นผู้คอยช่วยเหลือ เท่าที่จะทำได้
............4. ครูแสดงอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจกับสถานการณ์ได้ แต่มิใช่แสดงอารมณ์กับตัวเด็ก
............5. ครูจะต้องรับรู้หรือมีความรู้สึกกับตนเองในด้านบวกก่อน เพราะคนที่จะเห็นว่าคนอื่นมีความสามารถนั้น จะต้องมองเห็นว่าตนเองเป็นเช่นนั้นก่อน
............6. พยายามทำอย่างดีที่สุด ที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกนึกคิดกับตัวเองในด้านบวก และครูควรหัด เป็นผู้ไวต่อความรู้สึกของเด็ก เช่น พยายามมองทุกสิ่งทุกอย่างให้เห็นดังที่เด็กเห็น สะท้อนให้เห็นว่า ครั้งที่ครูเป็นเด็ก ก็เคยมีความรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน เช่น ความรูสึกกลัว ความรู้สึกอาย ฯลฯ
............7. ถ้าเป็นไปได้จัดเวลาให้เด็กได้มีโอกาสทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเอง
............8. ฝึกให้เด็กทำความกระจ่างเกี่ยวกับค่านิยมของตนเอง โดยวิธีการดังต่อไปนี้
............- กระตุ้นให้เด็กเห็นค่ากับสิ่งที่เลือกให้
............- ช่วยให้เด็กสามารถหาตัวเลือกอื่นแทนได้ เมื่อพบกับสถานการณ์ที่ต้องเลือก
............- ช่วยให้เด็กให้น้ำหนักกับตัวเลือกนั้นได้ เช่น ครูให้ตัวเลือกมา 3 ชุด ให้เด็กจัดลำดับ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า ทำไมจึงจัดลำดับเช่นนั้น
............- กระตุ้นให้เลือกอย่างอิสระ
............- กระตุ้นให้เด็กได้แสดงออกหรือทำตามสิ่งที่ตนเลือก
............- ช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงพฤติกรรมตมที่ตนเองเลือกนั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก
............9. ในการจัดการเรียนการสอนให้คำนึงถึง Affective Domain ควบคู่กับ Cognitive Domain ซึ่งเป็นเป้าหมาย ที่สำคัญ ของกลุ่มมนุษยนิยม


ลักษณะและประเภทของชุดการสอน

............ลักษณะทั่วไปของชุดการสอน (Instruction Package) โดยแท้จริงแล้ว จะประกอบด้วยชุดบทเรียน 2 ลักษณะ คือ
............1. เป็นชุดการสอนสำหรับครู (Teaching Package) เป็นการรวบรวมสื่อการสอน อย่างมีระบบครบวงจร มีความสมบูรณ์ เพื่อให้ครูนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภายในชุดการสอน จะมีสื่อและข้อแนะนำ ในการใช้สื่อนั้นๆ กับวิธีการสอน อย่างละเอียดชัดเจน พร้อมที่จะให้ครูนำไปใช้ได้อย่างไม่ยุ่งยาก
............2. เป็นชุดการเรียน ( Learning Package) เป็นชุดสำหรับผู้เรียนโดยเฉพาะโดยมีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูป มีสื่อการสอน หลายประเภทเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเล็กๆหรือเป็นรายบุคคลก็ได้ นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้จัดแบ่ง ประเภทของชุดการสอนไว้ ดังนี้

............ชุดการสอนแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมในชุดการสอนแล้ว มี 3 ประเภท คือ
............1. ชุดการสอนแบบบรรยายหรือชุดการสอนสำหรับครู ชุดการสอนประเภทนี้ เป็นชุดสื่อประสม ที่ผลิตขึ้นมา สำหรับครู ใช้ประกอบการบรรยาย โดยจะกำหนดกิจกรรมการเรียน ที่ครูสามารถใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปลี่ยนบทบาทการพูดบรรยาย ของครูให้ลดน้อยลง และเปิดโอกาสให้นักเรียน มีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียน มากยิ่งขึ้น ภายในชุดการสอน จะจัดลำดับเนื้อหา และสื่อการสอน ที่ครูจะใช้บรรยายในชั้นเรียนขนาดใหญ่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มย่อยๆก็ได้ ครูผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญ ในการดำเนินการ ใช้ชุดการสอนประเภทนี้
............2. ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม หรือชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นชุดการสอน ที่จัดกรมการเรียน ที่มุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียน ให้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยจะจัดกิจกรรมการเรียนในรูปแบบของศูนย์การเรียน ชุดการสอนประเภทนี้ จะประกอบด้วยชุดกิจกรรมย่อย ที่มีจำนวนเท่ากับ ศูนย์กิจกรรม ที่แบ่งไว้ในแต่ละหน่วย การสอน ซึ่งในแต่ละศูนย์มีสื่อการเรียน หรือบทเรียนครบชุด ตามจำนวน ผู้เรียน ในศูนย์กิจกรรมนั้น สื่อที่ใช้ ในศูนย์จะเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือร่วมกันทั้งกลุ่มได้ การดำเนินกิจกรรม การเรียนผู้เรียน จะปฏิบัติตามคำสั่งชี้แจงในสื่อการสอน โดยที่ครูเป็นเพียง ผู้ควบคุมดูแลและประสานให้ ้การดำเนินกิจกรรม สมบูรณ์ที่สุดเท่านั้น
............3. ชุดการสอนแบบรายบุคคล เป็นชุดสื่อประสมที่จัดระบบไว้ เป็นขั้นตอน ให้ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง ตามลำดับขั้น ตามความสามารถของแต่ละบุคคล และสามารถประเมินผล ความก้าวหน้าของตนเองได้ ครูผู้สอน จะทำหน้าที่ี่เป็นที่ปรึกษา เมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา ชุดการสอนชนิดนี้จะช่วยส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ ของผู้เรียนแต่ละบุคคล ให้มีการพัฒนาไปได้ ด้วยตนเอง

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ชุดการสอน (Instructional Package)


ในช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ คุณครูหลายท่าน ได้รวบรวมผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสนอขอเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน และเป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้ของคุณครู แต่มีหลายท่านได้มาปรึกษาหารือ เกี่ยวกับรูปแบบของการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมที่จะนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ในสถานการณ์การสอนจริง คุณครูส่วนใหญ่จะสอนโดยการผสมผสาน วิธีการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตามธรรมชาติวิชา หรือบริบท (หรือตามบุญตามกรรม ตามมีตามเกิด) สรุปก็คือไม่รู้จะเรียก นวัตกรรมรวมดาวนี้ว่าอย่างไร ... ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของบทความเรื่อง "ชุดการสอน" เนื่องจากเห็นว่า นวัตกรรมรวมดาวนั้นก็คือ ชุดสื่อประสมนั่นเอง เมื่อเรานำสื่อหลากหลายมาจัดลำดับการใช้อย่างเป็นระบบ บรรจุลงถุงหรือสัมภาระใดๆ แล้วหิ้วไปสอน จึงเรียกสื่อนั้นว่า "ชุดการสอน" นั่นเอง
............ชุดการสอน เป็นชุดของสื่อประสม ซึ่งผลิตขึ้นมาอย่างมีระบบ มีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตัวเอง โดยมีความสัมพันธ์ และสอดคล้อง กับเนื้อหาวิชา และประสบการณ์ ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นนวัตกรรม ในการผลิตและการใช้สื่อการสอน ที่มีบทบาทต่อการจัดการเรียนรู้ทุกระดับ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพราะเป็นแนวทางใหม่ ที่จะช่วย แก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากชุดการสอน เป็นระบบของการวางแผนการสอน ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ของเนื้อหา วิชานั้นๆ จึงทำให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในการเรียนการสอนอย่างมาก เรานิยม จัดชุดการสอนไว้ในกล่อง แฟ้ม หรือซอง แยกเป็นหมวดๆ โดยประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา และประสบการณ์ เช่น ใบความรู้ ใบงาน รูปภาพ แผนภูมิ ไฟล์คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ แผ่นโปร่งใส แบบทดสอบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องทุกอย่าง ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
บทบาทและความสำคัญของชุดการสอน............ชุดการสอนเป็นวัตกรรมในการผลิตและการใช้สื่อการสอน ที่เริ่มมีบทบาทต่อการเรียนการสอนทุกระดับในปัจจุบันและในอนาคต เพราะชุดการสอน จะเป็นแนวทางใหม่ ที่จะช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะชุดการสอน เป็นระบบของการวางแผนการสอน ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ของเนื้อหาวิชานั้นๆ จึงทำให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในการเรียนการสอนอย่างมาก ดังนั้นในปัจจุบัน ชุดการสอนจึงมีบทบาทที่สำคัญ ต่อการเรียนการสอน และการจัดการศึกษา พอสรุปได้ดังนี้............1. บทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การใช้ชุดการสอน จะทำให้ลักษณะการเรียนการสอนในชั้นเรียน เปลี่ยนแปลงไป จากการเรียนการสอน ที่ยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มาสู่การให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน โดยเนื้อหาและประสบการณ์ต่างๆ ที่สื่อการเรียนการสอน ที่มีความสมบูรณ์ที่ผู้เรียนรู้ ได้ด้วยตนเอง ครูจะมีบทบาทเป็นเพียงผู้ประสานงานให้การทำกิจกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น สภาพของห้องเรียนจะเป็นไป อย่างมีชีวิตชีวา ผู้เรียนมีความเคลื่อนไหว สนใจในการเรียนและทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่............2. บทบาทต่อการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นชุดการสอน เป็นระบบการนำสื่อประสม ที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา และประสบการณ์ ของหน่วยใดหน่วยหนึ่ง โดยเฉพาะ มีสื่อการสอนที่อยู่ในรูปวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริม การเกิดการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ได้เรียนรู้จากชุดการสอนแล้ว............3. บทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปริมาณประชากร ที่ต้องการศึกษาเพิ่มขึ้น และวิทยาการ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยชุดการสอนสามารถจัดให้เกิดการเรียนรู้ได้พร้อมกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ ชุดการเรียนรายบุคคล ทั้งระบบทางไกลและใกล้เป็นต้น และนอกจากนี้ชุดการสอน ยังสามารถปรับเปลี่ยน และแก้ไขให้เกิดความรู้และวิทยาการที่ใหม่ๆ ได้............4. บทบาทสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ไปสู่ปรัชญาการศึกษาในแนวพัฒนาการได้อย่างเต็มที่ โดยที่ชุดการสอน เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นที่ตัวเรียนเป็นสำคัญ ยึดหลักให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ครูเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำและประสานกิจกรรมให้เกิดการเรียนจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้จากการกระทำ (Learning by doing) อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรงและถาวรยิ่งขึ้นได้
แนวคิดพื้นฐานและหลักการในการผลิตชุดการสอน............1. ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล นักการศึกษาได้นำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความต้องการ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ สติปัญญา ความต้องการ ความสนใจ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และความแตกต่างปลีกย่อยอื่นๆ ดังนั้น ในการนำเอาหลักความแตกต่างเหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วิธีการเหมาะสม ที่สุดคือ การจัดการสอนรายบุคคลหรือการศึกษาตามเอกัตภาพและการศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการสอนที่เปิดโอกาส ให้ผู้มีอิสระในการเรียน ตามสติปัญญา ความสามารถ และความสนใจ โดยมีครูคอยแนะนำช่วยเหลือตามความเหมาะสม ปัจจุบันได้มีการทดลอง และวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับการสอนรายบุคคล อย่างกว้างขวางในทุกระดับการศึกษา จนเป็นที่ยอมรับว่าการสอนวิธีนี้กำลังจะก้าวหน้าไกลออกไป โดยมีเทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ๆ เป็นเครื่องมือ ช่วยให้การสอนรายบุคคล ดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายปลายทาง แนวคิดน ี้เป็นแนวทางให้เกิดความคิดที่จะผลิตหรือวางแผนการสอน และผลิตสื่อประสม ที่จะช่วยแก้ปัญหา หรือสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่ผู้เรียนสามารถก้าวหน้าไปตามความพร้อมความถนัด และความสามารถแต่ละคนได้อย่างเต็มที่ ในลักษณะเป็นชุดการสอนรายบุคคล หรือให้ผู้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ให้เกิดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้มากที่สุด ............2. การจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็น ความพยายามที่จะเปลี่ยนการเรียนการสอนไปจากเดิมที่เคยยึด “ครู” เป็นแหล่ง ความรู้หลัก มาเป็นการจัด ประสบการณ์ ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากแหล่งความรู้ จากสื่อการสอนแบบต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ การนำสื่อการสอน มาใช้จะต้องจัดให้ตรงเนื้อหา และประสบการณ์ ตามหน่วยการสอนของวิชาต่างๆ โดยนิยมจัดในรูปของชุดการสอน การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน เพียงหนึ่งในสาม ของเนื้อหาทั้งหมด ส่วนอีกสองในสาม ผู้เรียนจะศึกษาด้วยตนเอง จากที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้ในรูปของชุดการสอน และที่ผู้สอนชี้แหล่งและชี้ทางให้ เป็นการเปลี่ยน ศูนย์กลางการเรียนรู้ จากครูมาเป็นผู้เรียน โดยตรง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างเต็มที่และมั่นคงถาวร โดยการให้ผู้เรียน ได้ศึกษาเรียนรู้จากสื่อ หรือแหล่งความรู้ ที่ครูถ่ายทอด หรือจัดเตรียมเอาไว้ ให้ด้วยตนเองในรูปของสื่อประสมหลายๆ รูปแบบ............3. หลักบูรณาการสื่อเป็นชุดสื่อประสม เนื่องจากการใช้โสตทัศนูปกรณ์ได้เปลี่ยนและขยายตัวออกไป เป็นสื่อการสอน ซึ่งคลุมถึง การใช้สิ่งสิ้นเปลือง ( วัสดุ ) เครื่องมือต่างๆ และกระบวนการแนวคิดในเรื่องการใช้สื่อการสอนต่างๆ ได้เปลี่ยนและขยายตัวออกไป แต่เดิมนั้น การผลิตและการใช้สื่อการสอน มักออกมาในรูป ต่างคนต่างผลิต ต่างคนต่างใช้เป็นสื่อเดี่ยวๆ มิได้มีการจัดระบบการใช้สื่อ หลายอย่าง มาผสมผสานกัน ให้เหมาะสม และใช้เป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้เรียน แทนการใช้ครู เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ให้แก่ผู้เรียนตลอดเวลา แนวโน้มใหม่ จึงเป็นการผลิตสื่อการสอนแบบประสมให้เป็นชุดการสอน อันจะมีผลต่อการใช้สื่อ “ เพื่อช่วยครูสอน “ คือครู เป็นผู้หยิบอุปกรณ์ ต่างๆ มาใช้เป็นการใช้สื่อการสอน เพื่อช่วยผู้เรียนเรียน ให้ผู้เรียนหยิบและใช้สื่อการสอนต่างๆ ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยอยู่ในรูปของ ชุดการสอน เป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนรูปแบบการผลิต และนำสื่อมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในรูปแบบใหม่จากสื่อเดี่ยวๆ เป็นสื่อประสม ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเอง............4. แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารแบบสองทาง เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิกิริยาสัมพันธ์ ระหว่างครูกับผู้เรียนผู้เรียน ในห้องเรียนมีลักษณะเป็นทางเดียวคือ ครูเป็นผู้นำและผู้เรียนเป็นผู้ตาม ครูมิได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ผู้เรียนจะมีโอกาสพูดก็ต่อเมื่อครูให้พูด การตัดสินใจของผู้เรียนส่วนใหญ่ มักจะตามครู ผู้เรียนเป็นฝ่ายเอาใจครู มากกว่าครูเอาใจผู้เรียน ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในห้องเรียนนั้น แทบจะไม่มีเลย เพราะครูส่วนใหญ่ ไม่ชอบผู้เรียนคุยกัน ผู้เรียนจึงไม่มีโอกาสฝึกฝนทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ และเชื่อฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อเติบใหญ่ จึงขาดทักษะในการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ ปฎิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสภาพแวดล้อมก็มักอยู่กับเพียงชอกล์ค กระดานชอล์ค และแบบเรียนในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ หรือบริเวณ อันไม่ค่อยสวยงามนัก ครูไม่เคยพานักเรียนออกไปสูสภาพภายนอกห้องเรียน การเรียนการสอนจึงจัดอยู่เพียงในห้องเรียน เป็นส่วนใหญ่ แนวโน้มในปัจจุบัน และอนาคต ของกระบวนการเรียนรู้ จึงต้องนำกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ มาใช้ในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ประกอบกิจกรรมร่วมกันทฤษฎี และกระบวนการร่วมกล่ม จึงเป็นแนวคิด ทางพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งนำมาสู่การจัดระบบการผลิตสื่อการสอนออกมาในรูปของชุดการสอน เป็นการพยายาม ที่จะปรับพฤติกรรมการเรียนการสอน ระหว่างครู และนักเรียน ให้มีลักษณะมีปฎิสัมพันธ์ที่ดี จะส่งเสริมให้บรรยากาศการเรียนรู้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และที่สำคัญให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน อันจะเป็นผลต่อความเจริญงอกงาม ทางด้านอารมณ์และสังคมของนักเรียนได้เป็นอย่างดี............5. หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ใช้ประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนร ู้โดยจัดสภาพการออกมา เป็นการสอนแบบโปรแกรม ซึ่งหมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเอง มีทางทราบว่าการตัดสินใจหรือการทำงานของตนถูกหรือผิดอย่างไร มีการเสริมแรงบวก ที่นำมาให้ผู้เรียนภาคภูมิใจที่ได้ทำถูกหรือคิดถูกอันจะทำให้กระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีกในอนาคต และได้ค่อยเรียนรู้ไปที่ละขั้น ตามความสามารถ และความสนใจ เป็นการนำหลักจิตวิทยา มาใช้ในการวางแผนการสอน ในหน่วยเนื้อหาวิชา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจ ได้แรงเสริมที่จะเรียนรู้ ให้เกิดความก้าวหน้า ต่อไปโดยยึดหลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้เห็นถึงความมีหน้าที่เกิดขึ้น ซึ่งค่อยๆเป็นไปที่ละน้อยตามลำดับขั้น ในลักษณะเป็นการเรียน แบบโปรแกรมที่จัดไว ้หรือเป็นชุดการสอน เป็นต้น
คุณค่าและประโยชน์ของชุดการสอน............ชุดการสอนแบ่งตามลักษณะการผลิตการใช้แล้วได้ 3 ประเภทด้วยกัน แต่ละประเภท จะมีลักษณะและกระบวนการที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรก็ตาม ชุดการสอนไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตามก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้ในด้านต่างๆ ดังนี้............1. ช่วยเร้าและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เนื่องจากชุดการสอนเป็นชุดสื่อประสมที่มีกิจกรรม และสื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างเต็มที่ จึงทำให้ผู้เรียนสนใจในเนื้อหาบทเรียนมากขึ้น............2. สนับสนุนและสนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคล ชุดการสอนส่วนใหญ่มักจะจัดกิจกรรมการเรียนและสื่อประกอบ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เป็นผู้กระทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองและเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความสามารถ หรือความต้องการของตนเองได้............3. ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนในแนวทางเดียวกัน เพราะชุดการสอนเป็นสื่อประสมที่ผลิตขึ้นมาอย่างมีระบบ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์เฉพาะของหน่วยเนื้อหานั้นๆ ผู้สอนที่แตกต่างกันก็สามารถให้ประสบการณ์ได้เหมือนกัน............4. ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอิสระจากอารมณ์และบุคลิกภาพของผู้สอนสภาพการเรียนรู้จากชุดการสอนผู้เรียนจะทำกิจกรรมจากสื่อต่างๆ ด้วยตนเอง ครูผู้สอนจะทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ช่วยดูแลควบคุมให้ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้เต็มที่เท่านั้น บุคลิกภาพของครูหรืออารมณ์ของครู จึงไม่มีผลต่อการเรียนของผู้เรียนแต่อย่างใด............5. ช่วยลดภาระและสร้างความมั่นใจให้แก่ครูผู้สอน เพราะชุดการสอนแต่ละชุดผลิตขึ้นมาเป็นหมวดหมู่ มีอุปกรณ์ กิจกรรม ตลอดจนมีข้อแนะนำชี้แจงเกี่ยวกับใช้ไว้อย่างละเอียดชัดเจนสามารถนำไปใช้ได้ทันที่............6. ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนครูหรือผู้มีประสบการณ์เฉพาะทางได้ เพราะชุดการสอน โดยเฉพาะชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม และชุดการสอน รายบุคคล ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเอง และกลุ่มได้ โดยที่ไม่ต้องให้ครูหรือผู้เชี่ยวชาญสอนโดยตรงก็ได้............7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนตนเองในด้านความกล้าแสดงออกความ คิดเห็นการตัดสินใจ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม

My Pix

My Pix
คลังรูปภาพ